สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(4) วิธีประเมินความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



(4) วิธีสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้าอื่น ๆ ของภาควิชา

ภาควิชาสรีรวิทยาสร้าง/จัดการ “ความสัมพันธ์กับผู้เรียน” เพื่อตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวัง และเพื่อเพิ่มความผูกพันกับภาควิชา โดยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่

  • วิเคราะห์ความต้องการ/ความคาดหวังของผู้เรียน
  • นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบวิธีสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียน
  • ประเมินผลระดับความสัมพันธ์กับภาควิชา และจัดทำแนวทางเพื่อพัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้เรียน ทั้งนี้ตัววัดระดับความสัมพันธ์ของผู้เรียน ได้แก่ จำนวน นพท./นศพ.วพม. ที่สมัครขอรับการคัดเลือกเพื่อเป็นผู้แทนของ วพม. ไปแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยานานาชาติ (Inter-Medical School Physiology Quiz (IMSPQ)) และจำนวนผู้เรียนที่สมัครวิชาเลือกเสรีของภาควิชา

นอกจากนี้มีการแนะนำภาควิชา ข้อมูลรายวิชา การติดต่อกับภาควิชาและอาจารย์ภาควิชา ในวันแนะนำแต่ละรายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่ดีต่อภาควิชาและสามารถวางแผนการเรียนได้เหมาะสม และในการประชุมของภาควิชา จะมีการทบทวนการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนเป็นระยะ เพื่อพัฒนาปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้เรียน ทบทวนผลลัพธ์ของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างกิจกรรมที่สร้างความผูกพันกับผู้เรียนของภาควิชาสรีรวิทยา แสดงในตาราง 3.2-2

ตารางที่ 3.2-2 วิธีสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียน

กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียน

เป้าประสงค์

ตอบสนองความคาดหวัง

ทำให้เกินความคาดหวัง

  • อาจารย์หัวหน้าภาควิชาแนะนำรายวิชาที่สอนให้ผู้เรียนทราบวัตถุประสงค์ (ผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน) วิธีการวัดและประเมินผล และวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ และความคาดหวังของคณะกรรมการรายวิชาที่มีต่อผู้เรียน

 

 

  • จัดทำ/ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติการสรีรวิทยา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมโยงกับการเรียนรู้จากการเรียนรู้ภาคทฤษฎีในชั่วโมงบรรยาย

ü

 

  • จัดแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติการทางสรีรวิทยา เพื่อให้สัดส่วนของอาจารย์ประจำกลุ่มต่อผู้เรียนเหมาะสม

 

ü

  • จัดอาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยาร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้รายวิชา

 

ü

  • จัดให้มีการทบทวนเนื้อหาวิชาที่ใช้สอบครั้งที่ 2 สำหรับผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในการสอบรายวิชาครั้งที่ 1 ก่อนการสอบครั้งที่ 2

 

ü

  • ปรับการเรียนปฏิบัติการจากข้อมูลสัตว์ทดลองเป็นโจทย์ทางคลินิกแต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิม (Clinical-Based-Laboratory)

 

ü

  • เพิ่มการเรียน Modified-Simulation-Based ในชั่วโมง Clinical correlation

 

ü

  • เพิ่มเติมการพัฒนาความรู้เป็นรายบุคคลในลักษณะ real time ที่เรียกว่า Clinical Virtual Brainstorm  (CVB)

 

ü

  • จัดทำเว็บไซต์ภาควิชา (www.physiopcm.com) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงสื่อการสอน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผลคะแนนของการสอบแต่ละครั้ง

 

ü

  • รายงานผลการสอบเป็นรายบุคคล โดยมีข้อมูลเชิงสถิติประกอบ ได้แก่ คะแนนสูงสุด (max) คะแนนต่ำสุด (Min) คะแนนเฉลี่ยของห้อง (average) ลำดับที่สอบได้ของผู้เรียนในห้อง (class rank) และคะแนนที่ทำได้ของแต่ละอาจารย์ผู้สอน

 

ü

  • จัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อย (focus group) กับผู้เรียนจำนวนประมาณ 10 คน ที่เป็นผู้แทนของผู้เรียนทั้งชั้น (เรียงตามลำดับเลขที่) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกสะท้อนคิดต่อการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาในแต่ละระบบ (สิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่ควรทำให้ดียิ่งขึ้น และข้อเสนอแนะอื่นๆ)

 

ü

  • ประชุมกลั่นกรองข้อสอบ โดยคณาจารย์ของภาควิชา เพื่อทวนสอบว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ตามที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้า คำถามและคำตอบมีความชัดเจนและถูกต้อง

ü

 

  • เปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ผลการสอบ โดยกรอกใบคำร้องที่ภาควิชาฯ

ü

 

  • จัดโครงการส่งผู้แทนผู้เรียนชั้นปีที่ 3 (เดิม ปี 2) ไปร่วมแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยาระดับนานาชาติ (Inter-Medical School Physiology Quiz) เพื่อให้ผู้เรียนได้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ นศพ. จากสถาบันต่างๆ ทั่วโลก

 

ü



 LIST OF ABBREVIATIONS