สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(1) วิธีสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้าอื่น ๆ ของภาควิชา

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



(1) วิธีการกำหนดหลักสูตรและบริการต่าง ๆ ของภาควิชา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้ดีกว่าความคาดหวังของผู้เรียน

          ภาควิชาสรีรวิทยารับฟังเสียงผู้เรียนด้วยวิธีที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของหลักสูตร ดังตาราง 3.1-1 เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดหลักสูตรและบริการต่าง ๆ ของภาควิชา เพื่อตอบสนองความต้องการ ความคาดหวัง และทำได้ดีกว่าความคาดหวัง ดังแสดงในตาราง 3.2-1 นอกจากนี้ยังกำกับติดตาม/วิเคราะห์ผลการดำเนินการด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน รวมทั้งนำผลการประเมินคุณภาพภายใน เพื่อนำมาประกอบการกำหนดหลักสูตรรายวิชา ปรับปรุงรายวิชา/ปรับปรุงบริการ โดยมุ่งพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ

          คณะกรรมการรายวิชา/คณาจารย์ภาควิชา จะประชุมเป็นวงรอบ เช่น ด้านการจัดการเรียนการสอน วงรอบจะเริ่มจากการจัดทำ มคอ.3 และดำเนินการตามที่วางแผน เมื่อสิ้นสุดรายวิชาจะมีการนำผลประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมาประชุมหารือเพื่อการจัดทำ มคอ.5 และกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรและบริการต่าง ๆ ของภาควิชา ในบริบทที่เป็นไปได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดทำ มคอ.3 ของปีการศึกษาถัดไป

 

 

 

ตาราง 3.2-1 ความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้เรียน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความต้องการและความคาดหวัง

นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 2

ได้รับการพัฒนาความรู้/ทักษะตาม learning outcomes ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

มีการเรียนการสอนตามตารางสอน

มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน และข้อเสนอแนะจากผู้เรียน

มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน

มีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่พอเพียง มีคุณภาพ

  มีระบบให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้

มีการเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนรู้กับการใช้ประโยชน์ทางคลินิก

มีระบบการการขออุทธรณ์ผลการสอบและขอทราบผลการสอบ

นพท./นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 3

(วิชาเลือก)

นรพ.วพบ. ชั้นปีที่ 1

กองการศึกษา

นำกระบวนทัศน์การเรียนรู้ (Learning paradigm) และการประเมินเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ (Assessment for learning) ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของกิจกรรมการเรียนรู้ (active student participation)

พัฒนาความรู้/ทักษะตาม learning outcome ที่กำหนดไว้ใน มคอ. 3

ประเมินผลการเรียนรู้ตาม learning outcome ที่กำหนด ทั้ง formative และ summative evaluation โดยนำผลการประเมินความก้าวหน้ามาพัฒนาผู้เรียน

พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน/ ประเมินผล โดยเฉพาะรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-learning)

หน่วยแพทยศาสตรศึกษา

จัดทำและส่งรายละเอียดหลักสูตรรายวิชา (มคอ. 3) และรายงานผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ. 5) ตามกำหนด

อาจารย์ภาควิชาอื่นๆ

การประสานงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนารายวิชา

ภาควิชาปรีคลินิกชั้น 3

นพท./นศพ. ที่ได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ (LO2,3,6) และทักษะใน LO4 และ LO5 ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้

ลูกค้าบริการวิชาการ

องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและทันสมัย

สำนักงานพัฒนางานวิจัย

ส่งโครงร่างการวิจัย รายงานความก้าวหน้า และสรุปผลการวิจัยตามกำหนด

แผนกห้องปฏิบัติการ/แผนกเครื่องช่วยฝีก/แผนกประเมินผล/ศสท.วพม.

มีการประสานงานที่ดี และการประสานงานล่วงหน้า

ผู้ปกครอง

มีการสื่อสารเพื่อแจ้งให้ทราบกรณีบุตร/ธิดา มีปัญหาในการเรียนรู้

มีระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้

 

ใน ปีการศึกษา 2563 นี้ ภาควิชาได้มีการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบหลายอย่าง เพื่อพัฒนาผู้เรียน และยังคงมีการเรียน clinical correlelation, case discussion และ team-based learning ตามที่ผู้เรียนให้ข้อเสนอแนะว่าดีและขอให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการกำหนดหลักสูตร การพัฒนาเพื่อให้เกินความคาดหวังของผู้เรียนมีดังนี้

รายวิชาระบบต่อมไร้ท่อ

    • พัฒนาการเรียน case โดยให้เขียนรายงานทุกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผู้เรียน กำหนดวันพบอาจารย์ที่ปรึกษา
    • เพิ่มเติมการพัฒนาความรู้เป็นรายบุคคลในลักษณะ real time ที่เรียกว่า Clinical Virtual Brainstorm  (CVB) ซึ่งเป็นรูปแบบของ formative assessment for learning โดยผู้เรียนเข้ามาช่วยตอบคำถาม endocrine disorders และเติมคำตอบได้เรื่อยๆ ในแต่ละข้อในช่วงเวลาก่อนสอบ และอาจารย์เข้ามาตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหากไม่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้มากขึ้น

รายวิชาระบบหายใจ

- CVB ที่ปรับปรุงได้ถูกนำมาใช้ต่อเพื่อเป็น formative assessment for learning โดยเพิ่มเติมโจทย์ด้าน basic science โดยมีการแบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม เรียงตามคะแนน และทำควบคู่ไปกับการมีอาจารย์ทบทวนในห้องเรียนในชั่วโมงที่กำหนดในตารางสอน

รายวิชาระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

- CVB ได้ถูกนำมาใช้ต่อเพื่อเป็น formative assessment for learning ในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยให้ผู้เรียนเข้าไปช่วยกันตอบเป็นรายวัน และสรุปรวบรวมข้อมูลให้อาจารย์ผู้สอนเพื่อนำไปอธิบายเพิ่มเติมในระบบ และนำมาทบทวนอีกครั้งในห้องเรียน

- ปรับการเรียนปฏิบัติการจากข้อมูลสัตว์ทดลองเป็นโจทย์ทางคลินิกแต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิม (Laboratory Integrated case-badsed learning)

- เพิ่มการเรียน Simulation-Based ในชั่วโมง Clinical correlation/Clinical stimulator online



 LIST OF ABBREVIATIONS