สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(4) วิธีการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงหลักสูตรและผลการดำเนินการ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



4. วิธีการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงหลักสูตรและผลการดำเนินการ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

ภาควิชาสรีรวิทยา กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนของทุกรายวิชา และทบทวน/ประเมินวิเคราะห์ผลการดำเนินการของตัววัดผลในการประชุมประจำเดือนของภาควิชา เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนของการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนตามผลการวิเคราะห์

ในด้านการเรียนการสอน โดยคณะกรรมการรายวิชาของแต่ละรายวิชาจะจัดประชุมรวม 4 ครั้ง (กรณีจัดสอบทฤษฎีเพียงครั้งเดียว จะจัดประชุม 3 ครั้ง) ได้แก่

ครั้งที่ 1 เพื่อพิจารณารายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ที่ได้พัฒนา/ปรับปรุงตามรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) รวมทั้งข้อเสนอแนะจากกรรมการทวนสอบและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน

ครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน กำหนดกรอบการวัดและประเมินผล สัดส่วนคะแนนตามผลการเรียนรู้ และกำหนดวิธีวัด/ประเมินผล จัดทำ Table of specification ของข้อสอบ นัดหมายวันประชุมข้อสอบ กำหนดวันที่จะมอบหมายงานให้ผู้เรียน (โจทย์กรณีศึกษา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา กำหนดนัดหมายการพบอาจารย์ที่ปรึกษา แนวทางการนำเสนอในชั้นเรียน และการประเมินผล) การสอบ การตัดสินผล เป็นต้น

ครั้งที่ 3 เพื่อกำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน ทวนสอบการสอบและการวัดผล รับทราบข้อมูลป้อนกลับ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่ได้รับจากผู้เรียน พิจารณาผลคะแนนจากการสอบ เพื่อปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่เหลือของรายวิชา

ครั้งที่ 4 เพื่อพิจารณาผลคะแนน การตัดเกรด และแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่มีผลคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ผ่าน รวมทั้งรับทราบข้อมูลป้อนกลับจากผู้เรียน (Focus group หลังสอบ) เพื่อนำไปจัดทำรายงานผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ.5) ภายในเวลาที่กำหนด (30 วัน หลังปิดภาคการศึกษา) การปรับปรุงกระบวนการยังอาศัยข้อมูลจาก คู่ความร่วมมือ อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่สนับสนุนในหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น จากห้องปฏิบัติการ ห้องจัดกิจกรรมเพื่อเรียนกลุ่มย่อย ห้อง LRC เป็นต้น จึงเรียกได้ว่าข้อมูลนำเข้ามีลักษณการเก็บรวบรวมแบบ 360 องศา

ในปีการศึกษา 2563 ภาควิชามีการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบหลายอย่างเพื่อพัฒนาผู้เรียน และยังคงมีการเรียน clinical correlelation, case discussion และ team-based learning ตามที่ผู้เรียนให้ข้อเสนอแนะว่าดีและขอให้ดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการกำหนดหลักสูตร การพัฒนาเพื่อให้เกินความคาดหวังของผู้เรียนมีดังนี้

รายวิชาระบบต่อมไร้ท่อ

  • พัฒนาการเรียน case โดยให้เขียนรายงานทุกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผู้เรียน กำหนดวันพบอาจารย์ที่ปรึกษา
  • เพิ่มเติมการพัฒนาความรู้เป็นรายบุคคลในลักษณะ real time ที่เรียกว่า Clinical Virtual Brainstorm  (CVB) ซึ่งเป็นรูปแบบของ formative assessment for learning โดยผู้เรียนเข้ามาช่วยตอบคำถาม endocrine disorders และเติมคำตอบได้เรื่อยๆ ในแต่ละข้อในช่วงเวลาก่อนสอบ และอาจารย์เข้ามาตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหากไม่ถูกต้องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้มากขึ้น

รายวิชาระบบหายใจ

- CVB ที่ปรับปรุงได้ถูกนำมาใช้ต่อเพื่อเป็น formative assessment for learning โดยเพิ่มเติมโจทย์ด้าน basic science โดยมีการแบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม เรียงตามคะแนน และทำควบคู่ไปกับการมีอาจารย์ทบทวนในห้องเรียนในชั่วโมงที่กำหนดในตารางสอน

รายวิชาระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

- CVB ได้ถูกนำมาใช้ต่อเพื่อเป็น formative assessment for learning ในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยให้ผู้เรียนเข้าไปช่วยกันตอบเป็นรายวัน และสรุปรวบรวมข้อมูลให้อาจารย์ผู้สอนเพื่อนำไปอธิบายเพิ่มเติมในระบบ และนำมาทบทวนอีกครั้งในห้องเรียน

-ปรับการเรียนปฏิบัติการจากข้อมูลสัตว์ทดลองเป็นโจทย์ทางคลินิกแต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิม (Laboratory Integrated case-badsed learning)

- เพิ่มการเรียน Simulation-Based ในชั่วโมง Clinical correlation/Clinical stimulator online

 

วิธีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานด้านอื่นๆ เช่นด้านวิจัย ได้ให้ข้อมูลแหล่งทุนวิจัยจากภายนอก และส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยและผลงานวิชาการไปนำเสนอในการประชุมวิชาการต่าง ๆ นำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพการศึกษามาดำเนินการ ทำให้มีโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษาที่เป็นสหสาขาวิชาเพิ่มขึ้น ในด้านการบริการวิชาการได้มีการประชุมหารือคณาจารย์ เพื่อเพิ่มการบริการทางวิชาการ เช่นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานใน วพม. และ รพ.รร.6 (โครงการอุ่นใจ ครั้งที่ 2)

ภายหลังการปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้วก็นำมาหารือในการประชุมภาควิชา เพื่อประเมินปัญหาข้อขัดข้อง และพิจารณาการใช้กระบวนการต่างๆ ที่ปรับใหม่ หรือ คงไว้ หรือยกเลิก ในปีการศึกษาต่อไป

ตัวอย่างการปรับปรุงกระบวนการทำงานในด้านเอกสารทางธุรการ-หนังสือเข้าและการสือสารให้ทุกคนทราบ และการรวบรวมจำนวนคนที่ต้องการเข้าร่วมประชุมต่างๆ ผ่านทาง google form ที่ส่งผ่าน line กลุ่ม แสดงดังภาพด้านล่าง






 LIST OF ABBREVIATIONS