สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

ข. บริบทเชิงกลยุทธ์

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



ข. บริบทเชิงกลยุทธ์

บริบทเชิงกลยุทธ์ของภาควิชาสรีรวิทยา วางแผนจากการรวบรวมผลการดำเนินงานของภาควิชา และผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 แสดงในตารางที่ 1-11

ตารางที่ 1-11 บริบทเชิงกลยุทธ์ของ ภสว.กศ.วพม.

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ส่งเสริมให้คณาจารย์ขอตำแหน่งวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

คณาจารย์มีผลงานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้วและรอการวิเคราะห์และเขียนผลงานเพื่อการตีพิมพ์

ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนงานโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง

คณาจารย์มีความรู้และความสามารถหลากหลาย

การพัฒนาการจัดการศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล และมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

 

การบริหารจัดการหลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษาที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ (มีการทบทวนผลการจัดการศึกษาเปรียบเทียบกับแผนที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 การกลั่นกรองข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การทวนสอบผลการสอบ)

มีระบบการฟังเสียงผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการเรียนรู้ และอาจารย์เอาใจใส่ดูแล นพท./นศพ. อย่างใกล้ชิด

คณาจารย์มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนและบูรณาการรวมกับภาควิชาคลินกเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางคลินิกอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ กิจกรรม Case discussion, Team-based learning (TBL) พัฒนาการเรียนปฏิบัติการในรูปแบบ Laboratory Integrated Case based-Learning และ Modified Simulation ที่เชื่อมโยงความรู้ปริคลินิกและคลินิก เป็นต้น

มีการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์และส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้เรียนโดยนำข้อมูลป้อนกลับของผู้เรียนมาเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยในรูปแบบสหสาขา ส่งเสริมงานวิจัยแพทยศาสตรศึกษาเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

คณาจารย์มีสัมพันธภาพที่ดีกับคณาจารย์ภาควิชาอื่น และมีความสนใจทั้งทางด้าน basic science แพทยศาสตรศึกษา วิจัยชุมชนและวิจัยเวชศาสตร์ทหาร

ส่งเสริมอาจารย์ และบุคลากรในภาควิชาให้เจริญก้าวหน้าตามแนวทางการรับราชการและได้รับการพิจารณาบำเหน็จ 2 ขั้น เพื่อให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ความมุ่งมั่นและทุ่มเทของคณาจารย์ให้กับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และมุ่งมั่นพัฒนาภาควิชาร่วมกับความตั้งใจในการทำงานของบุคลากรทุกระดับในการทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อสนับสนุนงานโครงการของภาควิชา งานของคณาจารย์ และโครงการต่างๆ ของ วพม.

การพัฒนาระบบการบริหารงานภาควิชาและระบบการจัดการศึกษาในภาควิชาโดยการใช้รูปแบบ electronic (E-Physiology)

มีบุคลากรของภาควิชาที่มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์และสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริหารจัดการงานของภาควิชาและคณาจารย์ ทั้งในด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาสื่อการสอน

ความมุ่งมั่นของคณาจารย์ในการสร้างบทเรียน E-learning

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาให้เกิด active learning เพิ่มบทเรียน E-learning เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในตัวเอง

โอกาสเชิงกลยุทธ์

1. การพัฒนาระบบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรและระดับสถาบันที่มุ่งเน้นทั้งกระบวนการจัดการศึกษาและผลลัพธ์ทางการศึกษาตามมาตรฐานสากล

2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทีส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. มีความร่วมมืออย่างมากจากอาจารย์คลินิกในการช่วยพัฒนา case และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

4. มีเครือข่ายนักวิจัย แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

5. มีเครือข่ายในการจัดบริการวิชาการสู่สังคม

6. การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปี พ.ศ. 2564

 

 

 



 LIST OF ABBREVIATIONS