สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(5) วิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของภาควิชา

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



5. วิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของภาควิชา

การทบทวนผลการดำเนินการขีดความสามารถของภาควิชา จะทบทวนตามตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดตามพันธกิจของภาควิชา ตัวชี้วัดผลการดำเนินการในภาพรวมของภาควิชา และตัวชี้วัดระดับบุคคล ซึ่งตัววัดผลดังกล่าวจะสอดคล้องกับตัววัดผลระดับภาควิชาที่ วพม. กำหนด (ดังตาราง 4.1-1) โดยนำข้อมูล/สารสนเทศจากตัวชี้วัดผลการดำเนินการทั้งในระดับบุคคล ระดับโครงการ และระดับภาควิชา เข้าสู่การประชุมภาควิชาในแต่ละห้วงเวลา เช่น สิ้นสุดรายวิชาจะจัดทำ มคอ.5 เพื่อวางแผนจัดทำ มคอ.3 สำหรับปีการศึกษาต่อไป ทบทวนตามวงรอบงบประมาณ และสิ้นปีงบประมาณ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทบทวนจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในปีที่ผ่านมาและจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามแนวทางพัฒนาคุณภาพทุกปี ซึ่งการวิเคราะห์และทบทวบจะเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย หรือผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา

ตารางที่ 4.1-1 ตัววัดผลการดำเนินการของภาควิชาสรีรวิทยา กศ.วพม.

ชื่อตัววัด

ผู้รับผิดชอบ/ทบทวน

ตย. ตัววัดผลการดำเนินการ

ข้อกำหนด

ตัววัดผลการดำเนินการตามพันธกิจของภาควิชา

คณะผู้บริหารภาควิชา

(หน.ภสว., รอง หน.ภสว., ผช.หน.ภสว. และอาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย)

ตัววัดผลการจัดการศึกษา

- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา

ตัววัดผลการวิจัย

- จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับประเทศ/ระดับนานาชาติ

- จำนวนอาจารย์ประจำที่นำงานวิจัยไปนำเสนอในระดับชาติ/นานาชาติ

- จำนวนอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย

- จำนวนนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์

- จำนวนอาจารย์ประจำที่มีผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

ตัววัดผลบริการวิชาการ

- จำนวนโครงการบริการวิชาการที่นำมาพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย

ตัววัดผลการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

- จำนวนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม

ผลการดำเนินการตามพันธกิจ แบ่งเป็น 4 ด้าน

- ด้านการจัดการศึกษา

- ด้านวิจัย

- ด้านบริการวิชาการ

- ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ตัววัดผลการดำเนินการ

ในภาพรวมของภาควิชา

คณะผู้บริหารภาควิชา

(หน.ภสว., รอง หน.ภสว., ผช.หน.ภสว. และอาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย)

ตัววัดผลด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการ

- ร้อยละของรายวิชาที่จัดทำรายงานผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ. 5)

- ร้อยละของรายวิชาที่นำผลการประเมินหลักสูตรมาพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร

    และจัดทำ มคอ.3

- จำนวนรายวิชาที่นำผลการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียน

    (รายบุคคล รายกลุ่ม และรายชั้นเรียน)

- จำนวนรายวิชาที่มีการจัดทำ Table of specification ของข้อสอบ

- จำนวนรายวิชาที่มีการประชุมเพื่อพิจารณาข้อสอบ

ตัววัดผลด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล

- ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ วพม.

- ความพึงพอใจต่อภาวะผู้นำ/การนำองค์กรของ หน.ภาควิชา (โดย กศ.วพม.)

- จำนวนโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ

- จำนวนโครงการที่ได้ดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณตามแผน

- จำนวนรางวัล/ผลงานดีเด่นที่บุคลากรของภาควิชาได้รับในปีการศึกษา

- ผลการประเมินจากการตรวจประเมินคุณภาพภายในประจำปี

- ผลการประเมิน 7 ส

- จำนวนเรื่องร้องเรียนจรรยาบรรณคณาจารย์

- จำนวนเรื่องร้องเรียนเรื่องละเมิดจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์

ตัววัดผลด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

- ร้อยละของรายวิชาที่มีผลประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียน > 4

- ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน (ค่าเฉลี่ย)

- ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อวิธีการประเมินผลโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย)

- ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อเทคโนโลยีและสื่อที่ใช้ในการสอน (ค่าเฉลี่ย)

- ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อความสัมพันธ์กับอาจารย์ (ค่าเฉลี่ย)

ตัววัดผลด้านบุคลากร

- ร้อยละของอาจารย์ที่มีผลคะแนนด้านการสอน > 4

- ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ศึกษาเพิ่มเติม/ประชุมวิชาการ/อบรม/ศึกษาดูงาน/นำเสนอผลงาน อย่างน้อย 40 ชั่วโมง/ปี/คน

- ร้อยละของบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการ/ธุรการที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้/ประสบการณ์ อย่างน้อย 20 ชั่วโมง/ปี/คน

- จำนวนรางวัล/ผลงานดีเด่นที่บุคลากรของภาควิชาได้รับในปีการศึกษา

ตัววัดผลด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด

- ร้อยละของเงินงบประมาณคงเหลือ/งบฯ ที่ได้รับการจัดสรร

- จำนวนผู้เรียนที่สมัครวิชาเลือกเสรีของภาควิชา

- จำนวนผู้เรียนที่สมัครเป็นตัวแทนสถาบันไปสอบแข่งขันระดับชาติ/นานาชาติ

ผลการดำเนินการในภาพรวม แบ่งเป็น 4 ด้าน

- ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและ

  กระบวนการ

- ด้านการนำองค์การและการ

  กำกับดูแล

- ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

- ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร

- ด้านงบประมาณ การเงิน และ

  ตลาด

ตัววัดระดับบุคคล

คณาจารย์และบุคลากร

- ภาระงานอาจารย์รายบุคคล (การสอน การวิจัย และบริการวิชาการ)

ประกาศ วพม. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานฯ

 

ส่วนการปรับปรุงผลการดำเนินการ ผู้บริหารของภาควิชาค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี หรือ ผลการดำเนินการที่บรรลุเป้าหมาย/โดดเด่น จากการประชุม นขต.วพม./นขต.กศ.วพม./สภากาแฟ  การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน การประกวดสื่อการสอนและระบบสนับสนุนการสอน การนำเสนอและประกวดงานวิจัย  การตรวจประเมินกิจกรรม 7 ส  กิจกรรมที่ วพม. จัดประกวดผลงาน เช่น การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น และผลงานที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก

ตัวอย่างการวัด วิเคราะห์ ทบทวน

ตัวอย่างการปรับปรุงผลการดำเนินการปีการศึกษา 2563

   ด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

เมื่อสิ้นสุดรายวิชา จะประชุมคณะกรรมการรายวิชาเพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของรายวิชา วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยนำความคิดเห็นของผู้เรียน คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องมาพิจารณา และเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา เช่น ความพึงพอใจจองผู้เรียนในด้านการสอน สื่อการสอน การบริหารจัดการรายวิชา ความสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน ความรู้และทักษะที่ได้จากรายวิชา เป็นต้น เป็นการทบทวนเพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่อไป และรายวิชาเดิมในปีการศึกษาถัดไป

ด้านการจัดการเรียนการสอน

- วางวิดิโอของอาจารย์ผู้สอนบนเว็บไซด์ของภาควิชา เพื่อให้ผู้เรียสามารถศึกษาได้ล่วงหน้า

- เพิ่มเวลาให้ผู้เรียนทำ group activity ในการเรียน case discussion (Jigsaw technique) ในตารางสอน

- ปรับให้มีแบบฝึกหัดของ EKG พร้อมอธิบายทีละแบบฝึกหัด

- ปรับตารางสอนให้มีเวลาทบทวน lecture (SDL) ก่อนเรียนปฏิบัติการและจัดสอบปฏิบัติการแยกระบบ

- จัดให้มีอาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่จะใช้สอบครั้งที่ 2 ให้กับผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ครั้งที่ 1 นอกเหนือจากชั่วโมงทบทวนที่กำหนดในตารางสอนสำหรับผู้เรียนทั้งชั้น เป็นต้น

 - อาจารย์ผู้สอนได้มีการปรับลด slide Powerpoint ที่ใช้สอนให้

 พอเหมาะกับเวลาที่สอน

ด้านงานวิจัยและงานวิชาการ

ภาควิชาฯ มีการรายงานผลดำเนินการด้านงานวิจัยเป็นระยะ ๆ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการต่าง ๆ และกระตุ้นให้นำผลงานวิจัยมาตีพิมพ์ และมีการสรุปผลตัววัดประจำปี ได้แก่จำนวนผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ โดยเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายและผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา เพื่อการพัฒนาผลการดำเนินการและแสวงหาโอกาสในการทำงานวิจัยร่วมกับภาควิชาอื่น

ด้านวิจัย ส่งเสริมให้ทำวิจัยแบบสหสาขา และร่วมกับหน่วยงานภายนอก

งานวิจัยแพทยศาสตรศึกษา โดยพัฒนาโครงการวิจัย 1 เรื่อง และได้รับการพิจาณาอนุมัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย กองทัพบก

งานวิจัย data science เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ 1 เรือง

งานวิจัย basic science เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย 1 เรื่อง

สนับสนุนเจ้าหน้าที่ช่วยงานงานวิจัยสหสาขา เช่น

- โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพแบบปัจเจกบุคคลในลักษณะองค์รวม ทำให้เกิดผลงานนวัตกรรม application ที่ใช้ดูแลสุขภาพ

ด้านงานบริการวิชาการ

ภาควิชามีการบริการวิชาการที่สนับสนุนภารกิจของ วพม. อยู่หลายโครงการ แต่โครงการจัดการอบรมวิชาการต่างๆ ยังมีน้อย จากที่ประชุมคณาจารย์ภาควิชาจึงมีแนวคิดที่จะจัดอบรมวิชาการ 1 ครั้ง ในปีการศึกษา 2562

จัดโครงการบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาควิชาอายุรศาสตร์ ศุนย์มะเร็งวิทยาและน่วยดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 1 โครงการ

ด้านงบประมาณ

ภาควิชาสรีรวิทยาทบทวนประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณโครงการของภาควิชาที่ได้รับการจัดสรรเป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสองซึ่งเป็นช่วงของการดำเนินโครงการ

กำกับและติตตามในทุกขั้นตอนเพื่อการจัดหา จัดซื้อจัดจ้างให้ทันภายในเวลา

 



 LIST OF ABBREVIATIONS