สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(1) วิธีจัดทำกลยุทธ์ของภาควิชา

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



(1) อธิบายวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมากำหนดกลยุทธ์ของภาควิชา เช่น คำสั่ง นโยบาย เป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์ เพื่อให้การกำหนดกลยุทธ์ของภาควิชาสอดคล้องกับกลยุทธ์ของหน่วยเหนือ
(2) การหาจุดแข็งและคาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจคุกคามต่อสถาบันทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อกำหนดแนวทางการรับมือ และการปรับเปลี่ยน
(3) กำหนดกรอบระยะเวลาในการลงมือปฏิบัติ ติดตาม ปรับปรุง แก้ไขแผนกลยุทธ์ โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญเร่งด่วน และความเป็นไปได้
(4) กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องคำนึงในการวางแผนกลยุทธ์ และผู้เข้าร่วมจัดทำ
(5) ส่งเสริมและติดตามการสร้างนวัตกรรมที่จะสามารถผลักดันองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายตามกลยุทธ์ที่เขียนขึ้น
(6) การกำหนดสิ่งที่เป็นสมรรถนะหลักของสถาบัน ควบคู่ไปกับการหาความร่วมมือจากภายนอกเพื่อลดจุดอ่อนของสถาบัน

1. วิธีจัดทำกลยุทธ์ของภาควิชา

ในการจัดทำกลยุทธ์ของ ภสว. จะต้องตอบสนองต่อกลยุทธ์ของ วพม. โดยใช้การประชุมภาควิชาเพื่อชี้แจงกลยุทธ์ของ วพม. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณของภาควิชา วิเคราะห์ผล และสรุปผล โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บริบทเชิงกลยุทธ์ (ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ความท้าทายเชิงกลยุทธ์-ตารางที่ 1-11) โอกาสเชิงกลยุทธ์ของภาควิชา รายงานป้อนกลับการประเมินคุณภาพการศึกษา ปี 2562 (แสดงในตารางด้านล่าง) ข้อบ่งชี้และนโยบายด้านการศึกษาและแพทยศาสตรศึกษา ลักษณะผู้เรียน และการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาร่วมพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย ตัววัดผลการดำเนินการ และกำหนดโครงการที่จะตอบสนองต่อกลยุทธ์ของ วพม.

เมื่อได้มติจากการประชุมแล้วจึงเขียนแผนปฏิบัติการ/โครงการตามแบบฟอร์มที่ วพม. กำหนด และเสนอโครงการตามวงรอบการเสนอของบประมาณประจำปี ให้สอดคล้องกับกรอบปีงบประมาณ (ต.ค.-ก.ย.) และอาจมีกรอบเวลาระยะยาวเพื่อให้มีการดำเนินการต่อเนื่องได้ โดยแต่ละแผนปฏิบัติการจะคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายและเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ

จากนั้นจึงขออนุมัติดำเนินการและดำเนินการตามแผน กำกับดูแล วิเคราะห์และประเมินผลพร้อมกับสรุปโครงการ และนำข้อมูลดังกล่าวกลับเข้าสู่วงจรการปรับปรุงกลยุทธ์ หรือจัดทำกลยุทธ์ใหม่ต่อไป

ตารางที่ 1-11 บริบทเชิงกลยุทธ์ของ ภสว.กศ.วพม.

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ส่งเสริมให้คณาจารย์ขอตำแหน่งวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

คณาจารย์มีผลงานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้วและรอการวิเคราะห์และเขียนผลงานเพื่อการตีพิมพ์

ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนงานโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง

คณาจารย์มีความรู้และความสามารถหลากหลาย

การพัฒนาการจัดการศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล และมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

 

การบริหารจัดการหลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษาที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ (มีการทบทวนผลการจัดการศึกษาเปรียบเทียบกับแผนที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 การกลั่นกรองข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การทวนสอบผลการสอบ)

มีระบบการฟังเสียงผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการเรียนรู้ และอาจารย์เอาใจใส่ดูแล นพท./นศพ. อย่างใกล้ชิด

คณาจารย์มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนและบูรณาการรวมกับภาควิชาคลินกเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางคลินิกอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ กิจกรรม Case discussion, Team-based learning (TBL) พัฒนาการเรียนปฏิบัติการในรูปแบบ Laboratory Integrated Case based-Learning และ Modified Simulation ที่เชื่อมโยงความรู้ปริคลินิกและคลินิก เป็นต้น

มีการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์และส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้เรียนโดยนำข้อมูลป้อนกลับของผู้เรียนมาเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยในรูปแบบสหสาขา ส่งเสริมงานวิจัยแพทยศาสตรศึกษาเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

คณาจารย์มีสัมพันธภาพที่ดีกับคณาจารย์ภาควิชาอื่น และมีความสนใจทั้งทางด้าน basic science แพทยศาสตรศึกษา วิจัยชุมชนและวิจัยเวชศาสตร์ทหาร

ส่งเสริมอาจารย์ และบุคลากรในภาควิชาให้เจริญก้าวหน้าตามแนวทางการรับราชการและได้รับการพิจารณาบำเหน็จ 2 ขั้น เพื่อให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ความมุ่งมั่นและทุ่มเทของคณาจารย์ให้กับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และมุ่งมั่นพัฒนาภาควิชาร่วมกับความตั้งใจในการทำงานของบุคลากรทุกระดับในการทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อสนับสนุนงานโครงการของภาควิชา งานของคณาจารย์ และโครงการต่างๆ ของ วพม.

การพัฒนาระบบการบริหารงานภาควิชาและระบบการจัดการศึกษาในภาควิชาโดยการใช้รูปแบบ electronic (E-Physiology)

มีบุคลากรของภาควิชาที่มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์และสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการบริหารจัดการงานของภาควิชาและคณาจารย์ ทั้งในด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาสื่อการสอน

ความมุ่งมั่นของคณาจารย์ในการสร้างบทเรียน E-learning

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาให้เกิด active learning เพิ่มบทเรียน E-learning เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในตัวเอง

โอกาสเชิงกลยุทธ์

1. การพัฒนาระบบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรและระดับสถาบันที่มุ่งเน้นทั้งกระบวนการจัดการศึกษาและผลลัพธ์ทางการศึกษาตามมาตรฐานสากล

2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทีส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. มีความร่วมมืออย่างมากจากอาจารย์คลินิกในการช่วยพัฒนา case และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

4. มีเครือข่ายนักวิจัย แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

5. มีเครือข่ายในการจัดบริการวิชาการสู่สังคม

6. การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ปี พ.ศ. 2564

 

 

ค. ระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ

 ระบบปรับปรุงผลการดำเนินการของภาควิชาสรีรวิทยาใช้ตามกรอบแนวคิดของวงจรคุณภาพ Plan-Do-Check-Act (PDCA) ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ วพม. คือ PCMS system (plan-carry out- management-sustain)  ได้แก่การนำข้อมูลสารสนเทศ เข้าประชุมหารือประจำเดือนของภาควิชา หรือการประชุมคณะกรรมการรายวิชา เพื่อวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุงผลการดำเนินงาน พัฒนาฐานข้อมูลหรือนวัตกรรมที่ช่วยในการบริหารจัดการและรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสรุปผลเพื่อกำหนดแนวทางในอนาคต โดยใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) และผลการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นแนวทาง

รายงานป้อนกลับการประเมินคุณภาพการศึกษา ปี 2562

โอกาสในการพัฒนา

สิ่งที่น่าชื่นชม

ควรส่งเสริมให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น

ผู้บริหารและคณาจารย์มีความมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ส่งผลให้มีรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ควรส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนงานโครงการบริการวิชาการแก่สังคมให้ต่อเนื่อง

มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ที่พัฒนาโดยภาควิชาเองที่หลากหลายเพิ่มเติมจาก case discussion ที่เป็นรูปแบบ Jigsaw Technique (good practice)

ควรปรับรูปแบบการเรียนการสอนบรรยายที่มีหัวข้อการสอนต่อเนื่องเป็นเวลานานให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น

มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สำหรับการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากโรคลมร้อน

ควรปรับรูปแบบการเรียนการสอนปฏิบัติการให้นักเรียนมีความรู้และความมั่นใจในการใช้สัตว์ทดลองก่อนได้ลงมือจริง

เจ้าหน้าที่ภาควิชาได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และมีความสุขในการทำงานให้กับภาควิชา

ควรมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในระดับ horizontal และ vertical ร่วมกับภาควิชาปรีคลินิกและคลินิกให้มีการบูรณาการความรู้

ภาควิชามีการจูงใจให้แพทย์ใช้ทุนเข้ามาปฏิบัติงานในภาควิชา ส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ใหม่ให้ศึกษาในระดับหลังปริญญา และมีความชัดเจนที่จะกลับมาเป็นอาจารย์ภาควิชา

 

มีการสนับสนุน นพท./นศพ. ให้เข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาสรีรวิทยาระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องทุกปี

 

มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ได้อย่างครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ



 LIST OF ABBREVIATIONS