สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(1) วิธีควบคุมต้นทุนการทำงานของภาควิชา/ สร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นของ การควบคุมต้นทุน กับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน ผู้ใช้บริการ และบุคลากร

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



๑. วิธีควบคุมต้นทุนการทำงานของภาควิชา/ สร้างสมดุลระหว่างความจำเป็นของ การควบคุมต้นทุน กับความต้องการของกลุ่มผู้เรียน ผู้ใช้บริการ และบุคลากร

            ภาควิชาสรีรวิทยามุ่งเน้นการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประหยัด โดยมีกระบวนการควบคุมต้นทุนในการบริหารจัดการหลายวิธี (ตารางที่ ๖.๒-๑) โดยเน้นการสื่อสารและสร้างวัฒนธรรมในการประหยัดพลังงาน มีการปฏิบัติจริงตามนโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของหน่วย และขอความร่วมมือให้บุคลากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมต้นทุนโดยรวมของการปฏิบัติงานของภาควิชา

ตารางที่ ๖.๒-๑ กระบวนการควบคุมต้นทุน

กระบวนการทำงาน

หัวข้อ

วิธีการควบคุมต้นทุน  (เพิ่มประสิทธิผล/ ประสิทธิภาพ)

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ที่ภาควิชาสรีรวิทยารับผิดชอบ

  • ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
  • เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  • ลดต้นทุนในการตรวจสอบ และการตรวจติดตามผลการดำเนินการ
  • สร้างสมดุลระหว่างการควบคุมต้นทุน กับความต้องการของผู้เรียน
  • จัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เรียน สามารถ download เอกสารต่างๆ ตลอดจนเอกสารคำสอนของรายวิชาฯ ได้ล่วงหน้า ลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
  • ปรับเปลี่ยนวิธีประกาศคะแนนสอบจากติดประกาศหน้าภาควิชามาเป็นการให้ผู้เรียนตรวจสอบคะแนนเป็นรายบุคคลทางเว็บไซต์
  • ให้ผู้เรียนตอบแบบประเมินต่างๆ ของภาควิชาผ่านทางเว็บไซต์ แทนการตอบแบบประเมินที่เป็นกระดาษ ช่วยให้ได้รับผลการประเมินครบถ้วนในเวลาอันรวดเร็ว และลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
  • เปิดโอกาสให้อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำชั้น สามารถติดตามคะแนนสอบของผู้เรียนที่อยู่ในความดูแลผ่านทางเว็บไซต์ แทนการส่งผลเป็นเอกสารปิดผนึก
  • จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังเสียงผู้เรียน เพื่อฝึกให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอน
  •  การจัดทำ มคอ ๓ และ มคอ๕ โดยเก็บเป็น ไฟล์อิเล็คโทรนิค

การประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

  • กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
  • มาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ
  • นโยบายด้านการศึกษาของ วพม.
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘
  • เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ โดยเน้นการกำกับติดตามในการประชุมประจำเดือน
  • การลดความเสี่ยงทางการศึกษาที่เกิดจากการบัณฑิต/ผู้เรียนไม่มีคุณภาพ
  • เก็บข้อมูลรายงานภาระงานของอาจารย์ในภาควิชาในรูป electronic file แทนการพิมพ์



 LIST OF ABBREVIATIONS