สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(2) ระบุกระบวนการทำงานสำคัญของภาควิชา

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



2. กระบวนการทำงานที่สำคัญของภาควิชาสรีรวิทยา

กระบวนการทำงานที่สำคัญของภาควิชาสรีรวิทยามี 4 กระบวนการตามพันธกิจ ได้แก่ 1) จัดการศึกษาในหลักสูตรที่ได้รับมอบหมาย 2) การวิจัย 3) บริการทางวิชาการแก่สังคม และ 4) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

คณะกรรมการภาควิชาสรีรวิทยาร่วมกับคณะกรรมการรายวิชาฯ ได้วางแผนกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงรายวิชา (หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางการแพทย์) พร้อมระบุตัววัดผลดำเนินการที่สำคัญ ดังแสดงในตารางที่ 6.1-1 โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนจะมีปฏิทินการปฏิบัติงานตามตาราง 6.1-2 การออกแบบกิจกรรมการเรียนที่มุ่งเน้น active learning ตามตาราง 6.1-3 และการออกแบบการจัดการและการปรับปรุงการประเมินผลแสดงตามตารางที่ 6.14

สำหรับวิชาเลือกสำหรับ นพท./นศพ. ชั้นปี 3 จะเน้นการออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 6 ด้าน โดยเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดให้มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานของสาขาที่เกี่ยวข้องและมีแรงบันดาลใจในการค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ

ตารางที่ 6.1-1 กระบวนการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงหลักสูตรรายวิชา

ขั้นตอนสำคัญ

ข้อกำหนด

ปัจจัยนำเข้า

ตัวชี้วัดผลการดำเนินการ

การออกแบบหลักสูตรรายวิชา (มคอ.3)

  • มคอ.2 และเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาฯ
  • นโยบายคณะกรรมการบริหารแพทยศาสตรศึกษา/กศ.วพม. และนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา
  • ข้อเสนอแนะจากผู้เรียน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/คู่ความร่วมมือ
  • International standard (WFME)
  • สรุปผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ.5)
  • สารสนเทศจากตารางที่ 3.1-1

 

  • ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษารายวิชา  

การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลตามหลักสูตรรายวิชา

 

  • การพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • Vertical & horizontal integration
  • Learning paradigm
  • Formative/summative assessment
  • Assessment for learning
  • มคอ.3 /แผนการสอน/ตารางสอน
  • สารสนเทศจากการประเมินการสอนโดยผู้เรียน

 

 

  • ร้อยละของรายวิชาที่มีการนำผลการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนมาพัฒนาผู้เรียน 
  • ร้อยละของรายวิชาที่มีผลคะแนนประเมินโดยผู้เรียน > 4
  • ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน
  • ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อวิธีการประเมินผล
  • ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อเทคโนโลยี/สื่อการสอน
  • ระดับความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อความสัมพันธ์กับอาจารย์

การประกันคุณภาพการศึกษา

  • การเรียนการสอน การประเมินผลเป็นไปตาม มคอ.3
  • ผู้เรียนได้รับการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.3
  • มคอ.3/ แผนการสอน/ ตารางสอน
  • ผลการวัดและประเมินผลทั้ง Formative & summative assessment
  • ร้อยละของรายวิชาที่จัดทำ Table of specification ข้อสอบ
  • ร้อยละของรายวิชาที่มีการประชุมเพื่อพิจารณาข้อสอบ
  • ร้อยละของรายวิชาที่จัดทำรายงานผลการดำเนินการรายวิชาฯ
  • ผลการทวนสอบการประเมินผลและการวัดผล
  • Feedback จากแบบประเมินและการสนทนากลุ่มย่อย

การประเมินคุณภาพภายในประจำปีของ  วพม.

(การจัดทำ SAR และรับการตรวจประเมินคุณภาพ)

 

การประกันคุณภาพระดับหลักสูตรรายวิชา

  • การกำกับมาตรฐาน: คุณสมบัติของอาจารย์ประจำ/ อาจารย์ผู้สอน และการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ ๖ ด้าน
  • หลักสูตร: สาระรายวิชา วิธีการสอน การประเมินผล การรายงานผลการดำเนินการตามกรอบ มคอ. และนโยบายด้านการศึกษาของ วพม.
  • อาจารย์: จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ (อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ) และการพัฒนาอาจารย์  
  • ผู้เรียน: กิจกรรมส่งเสริม/พัฒนาผู้เรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน
  • สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ คู่มือรายวิชา คู่มือการฝึกทางห้องปฏิบัติการ เอกสารคำสอน

การประกันคุณภาพตามพันธกิจ

  • การจัดการศึกษา
  • การวิจัย
  • การบริการวิชาการแก่สังคม
  • การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • การบริหารจัดการ
  • สรุปผลการดำเนินการตามพันธกิจ

- ด้านการจัดการศึกษา (ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและตัววัดผลเชิงกระบวนการ)

- ด้านวิจัย

- ด้านบริการวิชาการ

- ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  • สรุปผลการดำเนินการในภาพรวม ได้แก่
  • ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล
  • ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า
  • ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร
  • ด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด
  • รายงานข้อมูลอาจารย์ประจำ/ อาจารย์พิเศษ
  • งานบริการวิชาการ/ งานวิจัย

1. ตัววัดผลด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการ

2. ตัววัดผลด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล

3. ตัววัดผลด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

4. ตัววัดผลด้านบุคลากร

5. ตัววัดผลด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด

 

ตาราง 6.1-2 ปฏิทินการปฏิบัติงานของกระบวนการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาสรีรวิทยา กศ.วพม.

ห้วงเวลา

กิจกรรม

พฤษภาคม-มิถุนายน

- จัดทำ/ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ที่จะจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 และ 2

  ของปีการศึกษาใหม่

- เสนอขอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำนินงานหลักสูตร (อาจารย์ผู้สอนประจำและอาจารย์พิเศษแต่ละรายวิชา

- จัดตารางสอนรายวิชาฯ

มิถุนายน-กรกฎาคม

- ประชุมวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรรายวิชาในการประชุมรายวิชา

- ปรับปรุงรายชื่ออาจารย์ผู้สอนของทุกรายวิชา (ทั้งอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษ)

- ประชุมคณะกรรมการรายวิชาฯ เพื่อเตรียมจัดการเรียนการสอนรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 1

สิงหาคม-กันยายน

- จัดการเรียนการสอนรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 1

- กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน วัดและประเมินผลตามแผน

- พิจารณาผลคะแนน สรุปปัญหาและข้อขัดข้อง

ตุลาคม-พฤศจิกายน

- จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ที่จัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1

- พิจารณาตารางสอนรายวิชารายวิชาในภาคการศึกษาที่ 2 และแผนการบริหารจัดการหลักสูตรรายวิชา

- พัฒนาผู้เรียนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์

ธันวาคม

- ประชุมคณะกรรมการรายวิชา เพื่อเตรียมจัดการเรียนการสอนรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 2

มกราคม-เมษายน

 

- จัดการเรียนการสอนรายวิชาในภาคการศึกษาที่ 2

- กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน วัดและประเมินผลตามแผน

- พิจารณาผลคะแนน สรุปปัญหาและข้อขัดข้อง

พฤษภาคม

- พัฒนาผู้เรียนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์

- จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ที่สอนในภาคการศึกษาที่ 2

ตารางที่ 6.1-3 การออกแบบกิจกรรมการเรียนที่มุ่งเน้น active learning

จำนวนรายวิชาที่มีกิจกรรม CBL, TBL

รายวิชา

ปีการศึกษา 2561

ปีการศึกษา 2562

ปีการศึกษา 2563

ระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ

Case discussion เรื่อง Acute coronary syndrome

ปรับเป็น Jigsaw technique และเพิ่ม  group activity นอกชั้นเรียน

 

Team-based learning

เรื่อง COPD

Case discussion เรื่อง Acute coronary syndrome

Jigsaw technique และเพิ่ม  group activity ในเวลาเรียนและอาจารย์สังเกตการณ์

 

Team-based learning

เรื่อง COPD (ปรับปรุงโจทย์คำถาม)

Case discussion เรื่อง Acute coronary syndrome

(ปรับปรุง case เปลี่ยนรูป ECG และ ปรับปรุง Learning objectives (LO))

 

 

Team-based learning

เรื่อง COPD (ปรับปรุง Case)

ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

Case discussion เรื่อง Chronic kidney disease with metabolic acidosis

  • จัดการเรียนการสอน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 5 กลุ่ม
  • ทุกกลุ่มศึกษาทุก learning objectives

Case discussion เรื่อง Chronic kidney disease with metabolic acidosis

  • ใช้ Jigsaw technique ทุกกลุ่มศึกษาทุก learning objectives และเพิ่ม group activity ในเวลาเรียนและอาจารย์สังเกตการณ์

Case discussion เรื่อง Chronic kidney disease with metabolic acidosis

  •  ใช้ Jigsaw technique ทุกกลุ่มศึกษาทุก learning objectives และเพิ่ม group activity ในเวลาเรียนและอาจารย์สังเกตการณ์
  •  การนำเสนอเป็นการสุ่มกลุ่มและสุ่มผู้นำเสนอจากสมาชิกในกลุ่ม

ระบบต่อมไร้ท่อ

Case discussion เรื่อง Graves’ disease

  • จัดการเรียนการสอน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 5 กลุ่ม
  • ทุกกลุ่มศึกษาทุก learning objectives

Team-based learning

เรื่อง Juvenile DM

Case discussion เรื่อง Graves’ disease

  • สถานการณ์ COVID-19 ปรับเป็นเขียนรายงานรายบุคคลทุก learning objectives

 

Team-based learning

เรื่อง Hyperosmolar crisis เปลี่ยนเป็น Clinical correlation

Case discussion เรื่อง Graves’ disease

  • สถานการณ์ COVID-19 ระลอก 2 ปรับเป็นเขียนรายงานรายบุคคลทุก learning objectives

 

Team-based learning

เรื่อง Hyperosmolar crisis เปลี่ยนเป็น Clinical correlation และจัดเวลาให้มี SDL ก่อนเรียน

ระบบประสาทวิทยาศาสตร์การแพทย์ 1

Case discussion เรื่อง

  • Spinal cord injury
  • Retinitis pigmentosa
  • BBPV

ปรับเป็น Jigsaw technique

Case discussion เรื่อง

  • Spinal cord injury
  • Retinitis Pigmentosa
  • BBPV

สถานการณ์ COVID-19 ปรับเป็นทำ clip VDO กลุ่มละหนึ่งหัวข้อการเรียนรู้ และ present ด้วย clip ทุกกลุ่มพร้อมการซักถาม

Case discussion เรื่อง

  • Spinal cord injury (เปลี่ยนรูป)
  • Retinitis Pigmentosa
  • BBPV

สถานการณ์ COVID-19 ระลอก 2ปรับเป็นทำ clip VDO กลุ่มละหนึ่งหัวข้อการเรียนรู้ และ present ด้วย clip ทุกกลุ่มพร้อมการซักถาม

 

 ตารางที่ 6.1-4 การออกแบบวิธีการประเมินผลของหลักสูตรรายวิชา

ชื่อรายวิชา/

ประเภทการประเมินผล

เป้าหมายของการประเมินผล

การประเมินรายบุคคล/รายกลุ่ม

การประเมินทั้งชั้นเรียน

วพมบก 204/ วพมบก 207/ วพมบก 210/ วพมบก 208 (หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาพื้นฐานทางการแพทย์)

Formative evaluation

  • Web-based Pre-Test
  • การให้ข้อมูลป้อนกลับกลุ่ม lab ในชั่วโมงฝึกทางห้องปฏิบัติการ
  • การให้ข้อมูลป้อนกลับในกิจกรรม case discussion
  • การ reflection ทักษะต่าง ๆ
  • การให้ทบทวนวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละชั่วโมงสอน เป็นรายบุคคล  เพื่อให้รู้ตัวเองและกลับไปวางแผนการทบทวน และเพื่อส่งข้อมูลให้กับอาจารย์ผู้สอนที่จะมาทบทวนในเวลาที่จัดให้ในตารางสอนหรือนอกเวลา
  • มีโจทย์ข้อสอบให้ฝึกทำเพื่อประเมินความรู้
  • การถามคำถามท้ายชั่วโมงการบรรยาย
  • การติดตามผลคะแนนของการตอบคำถาม Pre-Test
  • การประเมินตนเองตามวัตถุประสงค์ของแต่ละ topic ของชั่วโมงบรรยาย

Formative assessment for learning

  • Cllinicl Virtual Brainstorm
  • ทบทวนและให้ตอบคำถามข้อที่สงสัย

Summative evaluation

  • Unit Quiz I, II, Lab quiz, Lab examination
  • Post-Test case discussion, iRAT และ gRAT สำหรับการเรียนในรูปแบบ TBL

การประเมินโดยผู้เรียน

  • แบบสำรวจความคิดเห็น/ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group)

วพมสว 301/ วพมสว 302 (วิชาเลือกปี 3)

Formative evaluation

  • การให้ข้อมูลป้อนกลับผลงานรายบุคคลและผลงานรายกลุ่ม
  • การให้ข้อมูลป้อนกลับการนำเสนอบทความทางวิชาการ
  • การถามคำถามท้ายชั่วโมงการบรรยาย

Summative evaluation

  • การนำเสนอรายงานส่วนบุคคล
  • การนำเสนอผลงานกลุ่ม

 

สำหรับกระบวนการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการวิจัย บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แสดงในตารางที่ 6.1-5 กระบวนการวิจัยของภาควิชาสรีรวิทยา ปฏิบัติตามวิธีดำเนินการมาตรฐาน (Standard operating procedure, SOP) ของคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย กรมแพทย์ทหารบก (พบ.) อย่างเคร่งครัด โดยงานวิจัย จะเริ่มด้วยการจัดทำโครงร่างการวิจัยโดยผู้วิจัยหลัก และส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย ผ่านสำนักงานพิจารณาโครงการวิจัย พบ. หลังจากได้รับการแจ้งผลการพิจารณา (รับรอง) ผู้วิจัยหลักจึงจะเริ่มดำเนินการวิจัย ส่งรายงานความก้าวหน้าการวิจัย และขอต่ออายุการรับรองโครงร่างการวิจัยตาม SOP ว่าด้วยการประเมินต่อเนื่องโครงการวิจัยที่ได้รับการรับรอง เช่นเดียวกัน              

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบริการวิชาการมี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ แผนการดำเนินการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง 2) การดำเนินการตามแผน ๓) การสรุปผลการดำเนินการ ข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการบริการวิชาการ แสดงในตารางที่ 6.1-5

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของภาควิชาสรีรวิทยาในปีการศึกษา 2563 มี 2 โครงการ ได้แก่  โครงการ ภสว.อนุรักษ์ขนมไทย และโครงการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีมานานกว่า 10 ปี

ตารางที่ 6.1-5 กระบวนการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการวิจัยและบริการวิชาการ

ขั้นตอนสำคัญ

ข้อกำหนด

ตัวชี้วัดผลการดำเนินการ

การวิจัย

 

  • วิธีดำเนินการมาตรฐานของคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย พบ.
  • สร้างองค์ความรู้ใหม่และนำไปใช้ประโยชน์ได้  
  • จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับประเทศ/ ระดับนานาชาติ
  • จำนวนอาจารย์ประจำที่นำงานวิจัยไปนำเสนอในระดับชาติ/นานาชาติ
  • จำนวนอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย
  • จำนวนนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์
  • จำนวนอาจารย์ประจำที่มีผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

บริการวิชาการ

  • สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
  • ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุณภาพ
  • สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาการให้บริการวิชาการได้
  • จำนวนโครงการบริการวิชาการที่นำมาพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  • สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของสังคม
  • สามารถบูรณาการกับภารกิจอื่นๆ ของภาควิชา
  • จำนวนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม

 

 



 LIST OF ABBREVIATIONS