สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา วพม. LogIn
    SAR    
 

(2) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ

ภาพประกอบ


 เพิ่มข้อมูล ]



(1) กำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของสถาบัน ทั้งระยะสั้น ระยะยาว อย่างสมดุล
(2) มีการติดตามความก้าวหน้าของตัวชี้วัดในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์

2.1 ก (2) วพม. ระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์ (SO) ในขั้น 3 ของ SPP ตามรูปที่ 2.1-2 โดยจาก Env scan ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก รวมทั้งการทบทวนผลการดำเนินการ โดยแนวทางคัดเลือกว่าเรื่องใดเป็น SO นั้น SL ใช้วิธีสร้างสถานการณ์จำลองว่าเมื่อ วพม. เลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วมาเป็น SO เรื่องใดจะสามารถใช้ประโยชน์จาก SA รวมทั้ง CC เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรได้มากที่สุด ทั้งนี้รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนั้น ๆ ซึ่งเกณฑ์ข้อนี้ใช้ในพิจารณาทบทวน หรือยุติโครงการที่มาจาก SO หาก SL พิจารณาแล้วเห็นว่าผลประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มค่า

           โอกาสเชิงกลยุทธ์ที่ได้จากการประเมินสถาบันอย่างเป็นระบบในปีที่ผ่านมามี 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนา e-campus โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และตอบสนองความท้าทายเชิงกลยุทธ์สองข้อ ข้อแรก บุคลากรและผู้เรียนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อสอง การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลที่ดี  และ 2) การยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการโดยใช้ประโยชน์จากเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศและเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามมาตรฐานสากล (WFME) โดยใช้ประโยชน์จากการมีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เข้มแข็ง และตอบสนองความท้าทายเชิงกลยุทธ์สองข้อ ข้อแรก พัฒนาทีมงานแพทยศาสตร์ศึกษา (M-Team) ที่ทำงานเชิงรุกเพื่อพัฒนาหลักสูตร วิธีการสอน และการประเมินผล ข้อสอง ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล

              SPP ของ วพม. กระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมโดย 1) กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (stretched goals) สำหรับกรอบเวลาของการวางแผนระยะยาว (5 ปี) 2) เชื่อมโยงการให้รางวัลและการยกย่องกับการบรรลุเป้าหมายได้ก่อนเวลาที่กำหนด 3) ผนวกกระบวนการสร้างนวัตกรรมเข้าไว้ในแผน โดยเน้นพัฒนาอาจารย์เพื่อให้รู้จักวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนทั้ง 7 ด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะเป็น change agents ตามแนวคิด transformative learning ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบทเรียน (active learning) และฝึกสะท้อนคิดและสรุปบทเรียนจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับ (critical reflection) รวมทั้งวิธีการประเมินผลที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ (assessment for learning) โดยให้ความสำคัญกับการประเมินผลการเรียนรู้ทุกด้านอย่างสมดุล 4) เปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดี (good practice) ของหน่วยงานต่าง ๆ  ที่ได้จากการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และ 5) สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม โดยจัดให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางการแพทย์ และสื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปีของ รพ.รร.6 ซึ่ง วพม. เป็นเจ้าภาพร่วม เพื่อเป็นเวทีสำหรับผลักดันให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากระบวนการและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ  

 



 LIST OF ABBREVIATIONS